เวลา พลังปราณ และธาตุ

มนุษย์ก่อกำเนิดจากอิทธิพลของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวอื่นๆในจักรวาล การแพทย์แผนจีนจึงให้ความสำคัญกับเวลาหนึ่งรอบในการหมุนรอบตัวเองของโลก และเชื่อว่าในร่างกายของเรามีพลังชนิดหนึ่ง เรียกว่าพลังปราณ
แพทย์แผนจีน เห็นว่าในร่างกายของเรามีพลังชนิดหนึ่ง เรียกว่าพลังปราณ
พลังปราณจะโคจรหมุนเวียนในร่างกาย โดยไปที่อวัยวะต่างๆ ที่มีอยู่ 12 อวัยวะ

พลังปราณจะโคจรอยู่ในอวัยวะต่าง อวัยวะละ 2 ชั่วโมง ฉะนั้น 12 อวัยวะ คูณ 2 ชั่วโมง ก็เท่ากับ 24 ชั่วโมง ดังนี้

เวลา 21.00 – 23.00 น.
พลังปราณจะสะสมพลังปราณรวมพลังปราณของร่างกายจะสร้างในช่วงนี้เท่านั้น ดังนั้นจึงควรพักผ่อนเข้านอน 3 ทุ่ม
เวลา 23.00 – 01.00 น.
พลังปราณที่สร้างขึ้นจะเคลื่อนเข้าสู่ถุงน้ำดีล้างถุงน้ำดีทำให้ถุงน้ำดีแข็งแรงและย่อยไขมันที่จะเปลี่ยนรูปไปเป็นฮอร์โมน กล้ามเนื้อ กระดูกเส้นเอ็น ไขสมอง น้ำหล่อเลี้ยงในร่างกายทั้งหมด การย่อยไขมันของร่างกายจะเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้เท่านั้นหากไม่พักผ่อนในช่วงเวลาดังกล่าวไขมันก็จะตกตะกอนอยู่ตามร่างกาย เช่น มีถุงไขมันใต้ตา มีพุง สมองเลอะเลือนง่าย ปวดไหล่ ปวดท้อง บริเวณลำไส้ใหญ่ ท้องเสีย หรือท้องผูกง่าย
เวลา 01.00 – 03.00 น.
พลังปราณจะเคลื่อนเข้าสู่ตับ ตับจะเริ่มทำงานโดยใช้พลังงานที่สะสมไว้ ตับจะสะสมอาหารสำรองให้ร่างกายกำจัดของเสีย ผลิตน้ำดีและส่งไปเก็บที่ถุงน้ำดี ถ้าช่วงนี้ไม่หลับนอนร่างกายจะสูญเสียพลังปราณที่สะสมไว้ ตับจะอ่อนแอลง การสะสมพลังปราณสำรองก็จะลดลง การผลิตน้ำดีก็ลดลง ส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับอ่อน เป็นผลให้การผลิตอินซูลินลดลงด้วย โรคที่จะเกิดขึ้นติดตามมาก็คือ โรคเกี่ยวกับความดันโลหิตแปรปรวน โรคเก๊าท์ โรครูมาตอยด์ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เบาหวาน หัวใจ กระดูกเสื่อม
เวลา 03.00 – 05.00 น.
พลังปราณจะเคลื่อนเข้าสู่ปอด ถ้าปอดแข็งแรงผู้นั้นจะหลับสนิท ถ้าเป็นโรคปอดหรือสูบบุหรี่ จะรู้สึกไม่สบายตัวและจะถูกปลุกให้ตื่นในช่วงเวลานี้ ด้วยอาการไอและหายใจขัด
เวลา 05.00 – 07.00 น.
พลังปราณจะเคลื่อนเข้าสู่ลำไส้ใหญ่เป็นช่วงที่เราต้องถ่าย อุจจาระร่างกายจะต้องเอาของเสียทิ้งให้หมดก่อนเวลา 07.00 . ถ้าหากไม่ถ่าย ร่างกายจะดูดซึมของเสียเข้าสู่ระบบเลือด นี่เป็นสาเหตุให้เกิดริ้วรอยบนใบหน้า เกิดไขมันเสียดังนั้นจึงควรออกกำลังกายช่วงนี้เพื่อให้ลำไส้ใหญ่ขยับตัวและเพิ่มศักยภาพในการขับเคลื่อนของเสีย
เวลา 07.00 – 09.00 น.
กระเพาะอาหารจะทำงานได้สูงสุดในช่วงนี้เท่านั้นกระเพาะอาหารจะต้องการอาหารและจะหลั่งน้ำย่อยมากที่สุดผู้ที่ไม่รับประทานอาหารเช้าจะมีโอกาสเป็นโรคกระเพาะอาหาร และจะเกิดโรคหัวใจด้วยเพราะไม่ได้สารอาหารสำหรับทุกอวัยวะเพื่อกลับไปสร้างพลังปราณรวม
เวลา 09.00 – 11.00 น.
ม้ามจะเริ่มเก็บพลังปราณสำรองเก็บสารอาหารจากการย่อยของกระเพาะอาหารดังนั้นการที่เราไม่ได้รับประทานอาหารเช้า ร่างกายก็จะดึงพลังปราณสำรองออกมาใช้แล้วพลังปราณรวมก็จะหายไป จึงทำให้ร่างกายอ่อนแอไม่มีแรง
เวลา11.00 – 13.00 น.
พลังปราณจะเคลื่อนที่ไปที่หัวใจถ้าร่างกายไม่ได้สารอาหาร หัวใจจะทำงานลำบาก ทำให้หัวใจวายได้ง่ายในช่วงนี้
เวลา 13.00 – 15.00 น.
พลังปราณจะเคลื่อนสู่ลำไส้เล็กลำไส้เล็กจะทำงานโดยเปลี่ยนรูปอาหารที่ได้จากตอนเช้าทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน  เกลือแร่ เป็นพลังงานทั้งหมดถ้าไม่ได้รับอาหารเช้า อาหารที่จะย่อยในลำไส้เล็กก็ไม่มี ดังนั้นลำไส้เล็กก็จะย่อยตัวเองและเริ่มอ่อนแอ
เวลา 15.00 – 17.00 น.
พลังปราณจะเคลื่อนมาที่กระเพาะปัสสาวะของเสียที่เกิดขึ้นจากการแปรรูปอาหารที่ลำไส้เล็กจะเกิดขึ้น ช่วงนี้กระเพาะปัสสาวะจะทำงานมากที่สุด
เวลา 17.00 – 19.00 น.
พลังปราณจะเคลื่อนมาที่ไตช่วงนี้ไตทำงานหนัก ไม่ควรออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วงเย็นจะทำให้ไตวายง่าย เวียนหัว ตาพร่า ปวดศีรษะ
เวลา 19.00 – 21.00 น.
พลังปราณจะเคลื่อนมาที่กล้ามเนื้อหัวใจกล้ามเนื้อหัวใจจะทำงานชะล้างตัวเอง ทำงานช้าลง ช่วงนี้ต้องพักผ่อนถ้าไม่พัก เลือดจะข้น กล้ามเนื้อหัวใจจะทำงานหนักทำให้หัวใจโตได้

นี่เป็นกลไกภายในร่างกาย ที่เราไม่สามารถมองทะลุเนื้อกายเข้าไปดูการเคลื่อนย้ายพลังปราณในแต่ละช่วงเวลาได้ แต่เมื่อได้ทราบจากทฤษฎีการดูแลสุขภาพของจีนที่มีอายุมากกว่า 5,000 ปี ก็เป็นสิ่งที่น่าจะได้ใส่ใจ ดูแลอวัยวะภายในส่วนต่างๆ เพื่อไม่ให้ทำงานหนัก และพยายามปฏิบัติอย่างเหมาะสมในช่วงเวลาต่างๆ

เรื่องนาฬิกาชีวิต หรือเวลาทำงานของพลังปราณในอวัยวะต่างๆ สอดคล้องกันกับแพทย์แผนไทย เรื่อง ธาตุที่สัมพันธ์กับเวลา

แพทย์แผนไทยเห็นว่า อิทธิพลของเวลาที่เปลี่ยนแปลงใน1วัน จะทำให้เกิดการแปรปรวนของธาตุในร่างกาย ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสมดุล 

ดังนั้นจึงมีคำแนะนำให้ดื่มน้ำสมุนไพรให้เหมาะสมกับช่วงเวลา เพื่อปรับธาตุ ดังนี้

เวลา  06.00 – 10.00 น. และเวลา 18.00 – 22.00 น. 
 คนมักจะเจ็บป่วยด้วยธาตุน้ำ 

 น้ำสมุนไพรที่บำรุงร่างกายและปรับสมดุลของธาตุน้ำได้แก่ 

 น้ำสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำมะขาม

เวลา 10.00 – 14.00 น. และเวลา 22.00 – 02.00 น. 
 ผู้คนมักจะเจ็บป่วยด้วยธาตุไฟ 

 น้ำสมุนไพรที่ช่วยบำรุงร่างกายและปรับสมดุลธาตุไฟ ได้แก่ 

 น้ำสมุนไพรที่มีรสขม เช่น น้ำใบบัวบก น้ำมะระขี้นก

เวลา 14.00 – 18.00 น. และเวลา 02.00 – 06.00 น. 
 คนมักจะเจ็บป่วยด้วยธาตุลม 

น้ำสมุนไพรที่ช่วยบำรุงร่างกายและปรับสมดุลร่างกายและปรับสมดุลธาตุลม ได้แก่ 

 น้ำสมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน ได้แก่ น้ำขิง น้ำตะไคร้ น้ำมะตูม

 อย่างไรก็ตาม ชีวิตประจำวันของคนในวัยทำงานส่วนใหญ่ ไม่สามารถปฏิบัติตามนาฬิกาชีวิตแบบแผนจีนได้ง่ายนัก แต่การหาน้ำสมุนไพรแบบแผนไทยยังพอทำได้ ก็ควรทดลองเลือกหามาดื่มกันดู

การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องเฉพาะตัว หากรู้จักนำความรู้ด้านต่างๆมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวเอง สร้างวิถีชีวิตใหม่ที่สมดุล การเจ็บไข้ได้ป่วยก็ย่อมน้อยลง

อ้างอิงข้อมูล : 

https://www.huachiewtcm.com/

http://www.wongkarnpat.com/

อ้างอิงรูปภาพ : 

https://www.freepik.com/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า