แนวคิดในการประมาณจำนวนเงินหลังเกษียณ

การเตรียมตัวและการประมาณจำนวนเงินเอาไว้ใช้หลังเกษียณเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพื่อให้เรามีเงินเอาไว้ใช้จ่ายในด้านต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เป็นต้น หากเรามีการประมาณจำนวนเงินได้อย่างถูกต้อง เราจะใช้ชีวิตหลักการเกษียณได้อย่างสุขกายใจ

วันนี้เราจะมาแนะนำแนวคิดในการประมาณจำนวนเงินที่ต้องมีเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณกันค่ะ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แนวคิด คือ 

 

เงินที่ควรมี ณ วันเกษียณ  =  ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ x 12 เดือน x จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ

 

แนวคิดที่ 1:  นำเงินออมมาใช้จ่ายหลังเกษียณ

 

ยกตัวอย่างเช่น​ หากประเมินว่าหลังเกษียณจะใช้จ่ายเดือนละ 25,000 บาท และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่จนอายุ 80 ปี

ดังนั้น จำนวนเงินที่ต้องมี ณ วันเกษียณ  =  25,000 บาท x 12 เดือน x 20 ปีหลังเกษียณ      

   =  6,000,000 บาท​

** กรณีนี้จะเป็นการใช้เงินต้นให้หมดไปเรื่อย ๆ

 

แนวคิดที่ 2:  นำดอกผลของเงินออมและเงินลงทุนมาใช้จ่ายหลังเกษียณ

 

เงินที่ควรมี ณ วันเกษียณ  =         ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ x 12 เดือน 

      ประมาณการอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของเงินออมและเงินลงทุนต่อปีในช่วงหลังเกณียณ (%ต่อปี)

 

ยกตัวอย่างเช่น หากประเมินว่าหลังเกษียณจะใช้จ่ายเดือนละ 25,000 บาท และคาดว่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของเงินออมและเงินลงทุนช่วงหลังเกษียณอยู่ที่ 6% ต่อปี  

ดังนั้น จำนวนเงินที่ต้องมี ณ วันเกษียณ  =  (25,000 บาท x 12 เดือน) /6% ต่อปี   

   =  5,000,000 บาท

** กรณีนี้ เงินต้นจะยังคงอยู่ให้ออกดอกออกผลต่อไป

ที่มาของบทความ: ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย    

https://www.1213.or.th/th/moneymgt/retire/Pages/retire.aspx

รูปประกอบจาก: https://www.freepik.com

Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า