ไวรัส RSV ภัยร้ายที่ผู้สูงอายุต้องระวัง

RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง สามารถพบการติดเชื้อได้ในเด็กเล็กและผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป หรือมีร่างกายอ่อนแอ ซึ่งผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากการติดเชื้อ RSVเป็นไวรัสที่ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นโรคหอบหืด ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพราะจะมีความเสี่ยงติดเชื้อและรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่วัยอื่น ๆ อาการเป็นได้ตั้งแต่ ไข้หวัดธรรมดา ไปจนถึง ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอเรื้อรัง และอาจรุนแรงถึงขึ้นเกิดภาวะหัวใจวายได้ ถึงแม้จะรักษาหายขาดแล้ว ก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

วิธีสังเกตเมื่อติดไวรัส RSV จะมีอาการอย่างไร 

  • อาการทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ไอ เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ น้ำมูกไหล ตาแดง
  • อาการทางเดินหายใจไวต่อสิ่งกระตุ้น อาทิ ความชื้น, ฝน, ฝุ่น, ควัน, ละอองเกสร เช่น หายใจแล้วมีเสียงหวีด เหนื่อย ไอเรื้อรัง แม้จะไม่มีโรคหลอดลมอักเสบมาก่อน
  • อาการทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ
  • อาการทางหัวใจ เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดภาวะน้ำท่วมปอดจนหัวใจวาย หัวใจขาดเลือด กลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจ

RSV อาจจะมีอาการเหมือนคนเป็นไข้หวัด  แต่จะแตกต่างกันตรงที่ RSV อาจจะมีไข้และมีระยะเวลาในการเป็นนานว่าไข้หวัดธรรมดา โดยจะอยู่ที่ 5-7 วัน และอาการทางระบบหายใจจะชัดเจนกว่า โดยการติดเชื้อ RSV จะไม่มีอาการสูญเสียการรับกลิ่นหรือรส คล้ายโควิด-19 

ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อไวรัส RSV สามารถแพร่กระจายเชื้อได้นาน 3-8 วัน และติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ

วิธีการรักษาและป้องกัน RSV

สามารถฉีดวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อ RSV ในผู้สูงอายุ แต่ยังไม่มียารักษาเชื้อไวรัส RSV โดยตรง การรักษาจึงเป็นเพียงการรักษาตามอาการแบบประคับประคอง เช่น การให้ยาลดไข้ การดูดเสมหะ การให้ยาขยายหลอดลมในรายที่มีภาวะหลอดลมตีบ

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับฉีดวัคซีน RSV คือ ควรฉีดก่อนเข้าสู่การแพร่ระบาดของ RSV ซึ่งมักอยู่ในช่วงฤดูฝน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – เดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยฉีดเพียง 1 ครั้ง เข้ากล้ามเนื้อบริเวณต้นแขน

แต่ก็มีข้อควรระวังเมื่อจะต้องฉีดวัคซีน RSV ผู้ดูแลควรแจ้งแพทย์ในกรณีที่ผู้สูงอายุเคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงหลังจากฉีดวัคซีนชนิดอื่น มีไข้สูงที่เกิดจากการติดเชื้อ มีเลือดออกง่ายหรือเกิดรอยช้ำง่าย และผู้สูงอายุที่เคยได้รับวัคซีนอื่นมาเร็ว ๆ นี้

ทั้งนี้เมื่อฉีดวัคซีน RSV แล้วก็อาจจะมีอาการต่างๆดังนี้ได้ ปวด บวม แดง คันที่ตำแหน่งฉีด อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะและปวดข้อ แต่ก็เป็นอาการแค่ชั่วคราวเท่านั้น แต่ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ บวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก ลมพิษ หน้ามืด เป็นลม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ผื่นแดง ควรต้องรีบไปพบแพทย์ค่ะ

สำหรับผู้สูงอายุเราสามารถป้องกันได้โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งตัวผู้สูงอายุเอง ครอบครัว และสังคมรอบข้าง การใช้มาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ ร่วมกับการดูแลสุขภาพองค์รวม จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ RSV และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Categories

บทความล่าสุด

Tags

ค้นหา

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า