วิธีการการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า แต่ปฏิเสธความช่วยเหลือ

คนทุกคนต่างเคยรู้สึกเครียด รู้สึกผิดหวังหรือมีอารมณ์เศร้าหมองเหมือนๆกันเมื่อเผชิญกับความสูญเสียหรือปัญหาอุปสรรคในชีวิต ความรู้สึกเหล่านี้เป็นเรื่องปกติหากเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว แต่ถ้าความเครียดและความเศร้าเหล่านี้ดำเนินติดต่อกันเป็นระยะเวลานานและมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคนๆนั้นกำลังเป็นโรคซึมเศร้า

วันนี้เรามาทราบวิธีการดูแลพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่เป็นโรคซึมเศร้าแต่ปฏิเสธการดูแล ได้อย่างไรบ้างการจะช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ ต้องอาศัยความเข้าใจ ขอให้เข้าใจว่าภาวะซึมเศร้านั้นต้องได้รับการรักษา แต่การจะพาผู้ป่วยด้วยภาวะซึมเศร้าไปพบแพทย์ได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เนื่องด้วยอาการของโรคทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสิ้นหวังและคิดว่าการรักษาก็คงจะไม่ช่วยอะไร บทบาทของคุณและคนในครอบครัวที่คอยช่วยสนับสนุนและประคับประคองผู้ป่วยทางอารมณ์จึงมีความสำคัญมาก ลองทำตามคำแนะนำดังนี้

  1. อย่าพยายาม “แก้ไข” ผู้ป่วย แต่ให้เป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังผู้ป่วยด้วยความเข้าใจ อดทน และห่วงใย
  2. ให้การสนับสนุนและให้กำลังใจโดยไม่แสดงท่าทีรำคาญ
  3. มองโลกในแง่ดีเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเห็นว่ายังมีความหวัง
  4. ชวนผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมของครอบครัว หรือทำงานอดิเรกที่ผู้ป่วยชอบโดยไม่กดดัน
  5. อย่าคาดหวังว่าความพยายามช่วยเหลือของคุณจะส่งผลได้ทันใจ

เมื่อผู้ป่วยเกิดความผ่อนคลายเมื่ออยู่กับคุณ ลองชักชวนผู้ป่วยไปพบแพทย์ประจำตัวเพื่อตรวจร่างกายตามปกติ และอาจให้แพทย์ส่งต่อไปพบแพทย์เฉพาะทางโดยมีคุณอยู่ข้างๆ เชื่อว่าความอดทนและเอาใจใส่ของคุณต้องช่วยคุณแม่ให้ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน


ที่มาของข้อมูล: คลินิกสุขภาพผู้สูงอายุนิวไลฟ์​ โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์

Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า