ดูแลผู้สูงวัยอย่างไรให้ห่างไกลความเหงา

ต้องยอมรับอย่างนึงว่า สังคมประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ แต่สิ่งหนึ่งที่มาคู่กันกับสังคมที่เต็มไปด้วยผู้สูงวัย ก็คือสภาวะความเหงาในวัยผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อสังคมผู้สูงวัยแบบองค์รวม และอาจจะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า หรือการประพฤติที่เปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ที่จะดูแลผู้สูงอายุให้ไม่ให้เหงา การหารกิจกรรมให้ทำ หรือการดูแลสุขภาพจิตตัวเอง ย่อมส่งผลดีต่อผู้สูงอายุในครอบครัว และเป็นการรับมือเมื่อตัวเราเองเข้าสูงวัยผู้สูงอายุค่ะ

การดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ เรื่องที่เราต้องทำความเข้าใจเลยคือ สภาวะอารมณ์ของผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง ต้องใช้ความอดทน และเข้าใจ ยอมรับในสภาวะอารมณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่มีบางครั้งอาจจะมีพฤติกรรมหรืออารมณ์ที่เหมือนกลับกลายเป็นวัยเด็ก

 การดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุมีเคล็ดลับอย่างง่ายๆ ดังนี้ 

1. ส่งเสริมการเข้าสังคม

อารมณ์เหงาของผู้สูงอายุเกิดขึ้นได้จากการที่ขาดสังคม ไม่มีเพื่อนฝูงสังคมให้พบปะเหมือนครั้งยังวัยหนุ่มสาว การพาผู้สูงอายุไปพบปะผู้อื่น มีสังคมในการพูดคุยและได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ก็จะช่วยลดความเหงา ลดการแยกตัวออกจากสังคมได้ค่ะ

2. หากิจกรรมให้ทำ

การหากิจกรรมให้ทำเป็นตัวเลือกที่ดีที่ช่วยคลายเหงา และยังช่วยให้ผู้สูงอายุได้ใช้สมอง ได้ขยับเขยื้อนร่างกายอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬา เล่นดนตรี หรือนำงานอดิเรกที่ผู้สูงอายุเคยชอบทำกลับมาให้ทำอีกครั้ง เป็นกิจกรรมที่ไม่หนักเกินไป ไม่ว่าจะเป็น เปตอง รำวง แอโรบิก ออกกำลังกายเบาๆ

3. การฝึกสมอง ระบบความคิด

นี้นอกจากจะช่วยให้ผู้สูงอายุได้ใช้สมอง ลดภาวะความจำเสื่อมแล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่ได้ทำร่วมกันกับสมาชิกในครอบครัวได้ดีด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมส์ต่อคำ เกมส์บวกเลข เกมส์ทายคำ เกมส์หมากรุก เกมส์ต่อเพลง ทั้งหมดนี้จะเป็นการช่วยให้ผู้สูงอายุได้ใช้สมอง เสริมความสามารถด้านความจำ และยังเป็นกิจกรรมสนุกๆระหว่างสมาชิกในครอบครัวได้

4. การดูแลสุขภาพจิตใจภายใน

การดูแลสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุที่สำคัญและละเลยไม่ได้เลยคือ เรื่องของความรู้สึก การดูแลให้ความรักความอบอุ่น ทั้งคำพูดและการกระทำ ผู้ที่ดูแลควรใส่ใจเรื่องนี้เป็นลำดับแรกๆ ทั้งการหมั่นพูดคุยอย่างใกล้ชิด สร้างเสียงหัวเราะ รวมไปถึงการหากิจกรรมทำร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การไปหาของอร่อยๆทานร่วมกัน  ทั้งหมดนี้ก็จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกอบอุ่นใจและยังเป็นคนสำคัญของครอบครัวอยู่

5. การส่งเสริมการมีคุณค่าในตัวเองของผู้สูงอายุ

ปัญหาเรื่องนี้เกิดจากการที่ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตัวเองไม่สำคัญ หรือแม้กระทั่งการมองว่าเป็นตัวเองเป็นปัญหา เป็นภาระของลูกหลาน ซึ่งความคิดเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อสภาวะจิตใจของผู้สุงอายุ วิธีการป้องกันปัญหาเหล่านี้ ผู้ดูแลต้องช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกภูมิใจในตัวเองและยังเชื่อมั่นในตัวเองอยู่ โดยอาจจะหากิจกรรมที่ผู้สูงอายุชอบให้ทำให้รับผิดชอบอะไรเล็กๆน้อยๆ การดูแลกิจวัตรประจำวันของตัวเอง เพื่อให้รู้สึกได้ว่ายังสามารถทำอะไรได้เองอยู่ และไม่เกินกำลังตัวเองเกินไป

ทั้งนี้วิธีแก้เหงาของผู้สูงอายุทำได้ไม่ยากเลยค่ะ หลักๆคือก็คือ การดูแลเรื่องอารมณ์ความรู้สึก การใส่ใจถามไถ่พูดคุยอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้สูงอายุไม่เกิดอาการน้อยใจ สภาวะอารมณ์ที่สวิงไปมา การหากิจกรรมให้ทำหรือพาไปในที่ใหม่ๆสังคมใหม่ เช่นไปคอนเสิรต์ ไปเที่ยวที่ใหม่ๆ ไปเจอสังคมที่ผู้สูงวัยทำร่วมกัน เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ไม่รู้สึกอยากแยกตัวออกจากสังคม ยังรวมไปถึงการสอนให้ผู้สูงอายุเล่นเกมส์ง่ายๆบนโซเชียล บนมือถือ หรือไอแพด ก็เป็นกิจกรรมง่ายๆที่สามารถหาทำได้ตลอดเวลา คลายเหงา 


Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า