โอเมก้า 3 กุญแจสำคัญสู่สมองและหัวใจแข็งแรงในวัยเกษียณ

โอเมก้า-3 (Omega-3)เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนชนิดหนึ่งที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ จึงต้องได้รับจากอาหาร หรืออาหาร ซึ่งโอเมก้า-3 มีหลายชนิด แต่ที่พบมากและมีความสำคัญต่อสุขภาพคือ ได้แก่ Alpha-Linolenic Acid (ALA), Eicosapentaenoic Acid (EPA) และ Docosahexaenoic Acid (DHA) โอเมก้า-3 พบมากในปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และในพืชบางชนิด เช่น เมล็ดแฟลกซ์ และเมล็ดเจีย

ความสำคัญของโอเมก้า 3 ต่อสุขภาพสมอง

  • บำรุงสมอง: โอเมก้า-3 เป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์สมอง ช่วยในการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาท ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ป้องกันโรคสมองเสื่อม: โอเมก้า-3 ช่วยลดการอักเสบในสมอง ลดการสะสมของโปรตีนผิดปกติที่เป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

  • ปรับปรุงความจำและการเรียนรู้: DHA มีบทบาทในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์สมอง ทำให้การจดจำและการเรียนรู้ดีขึ้น

ประโยชน์ของโอเมก้า 3 ต่อสุขภาพหัวใจ

  • ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ: โอเมก้า-3 ช่วยลดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่งในเลือดที่สูงเกินไปอาจนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด การบริโภคโอเมก้า-3 ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดอุดตัน

  • ป้องกันจังหวะหัวใจผิดปกติ: โอเมก้า-3 ช่วยเสริมความมั่นคงในการเต้นของหัวใจ ลดความเสี่ยงของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว

  • ลดการเกิดลิ่มเลือด: กรดไขมันโอเมก้า 3 ในน้ำมันปลาจะช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและลดไขมันในเลือด ลดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด

ปริมาณโอเมก้า 3 ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และสภาพสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อรับคำแนะนำ สำหรับผู้สูงอายุ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินก่อนการรับทาน ถึงแม้ว่าโอเมก้า 3 จะมีประโยชน์มากมายนั้น แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงและข้อควรระวัง เช่น ผู้ที่แพ้อาหารทะเลควรหลีกเลี่ยงน้ำมันปลา หรืออยู่ในช่วงกำลังใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นต้นนะคะ


Categories

บทความล่าสุด

Tags

ค้นหา

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า